กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
อาการปัสสาวะราดในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมีลักษณะทางคลินิกที่แตกต่างจากผู้ที่มีอายุน้อยกว่า นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องความชรา อาการและอาการแสดงที่ไม่จำเพาะเจาะจง การมีพยาธิสภาพหลายระบบในเวลาเดียวกัน การบริหารยาหลายชนิด สภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันแม้จะมีอายุใกล้เคียงกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพได้ อาการปัสสาวะราด เป็นหนึ่งในอาการและอาการแสดงที่ไม่จำเพาะเจาะจง ทั้งนี้เพราะอาจเกิดจากพยาธิสภาพได้หลายสาเหตุซึ่งอาจแก้ไขได้ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องความชราเพียงอย่างเดียว การที่ผู้สูงอายุเอง ญาติผู้ดูแล หรือแม้แต่แพทย์ที่พบกับปัญหานี้มีทัศนคติต่ออาการปัสสาวะราดว่าแก้ไขไม่ได้ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของผู้สูงอายุที่ผู้ประสบปัญหานี้จะต้องทนอยู่กับอาการดังกล่าวในชั่วชีวิตที่เหลือ จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายในโอกาสที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้นดีขึ้นได้
แม้ว่าความชุกของอาการปัสสาวะราดในผู้สูงอายุในชุมชนจะประมาณร้อยละ 12-15 แต่ความชุกที่แท้จริงน่าจะมากกว่านี้ ทั้งนี้เพราะอาการปัสสาวะราดเป็นสิ่งที่น่าละอายที่ผู้สูงอายุมักไม่ค่อยอยากเปิดเผย โดยเฉพาะการศึกษาในชุมชนที่ใช้แบบสัมภาษณ์ และถ้าแบบสัมภาษณ์นั้นสำรวจเรื่องอื่นๆด้วย ผู้สูงอายุอาจเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและคงช่วยอะไรไม่ได้จึงไม่มีความสำคัญที่จะต้องตอบ ปรากฏการณ์นี้ยังพบได้บ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไปที่ผู้สูงอายุมักไม่รายงานอาการนี้ให้แพทย์ทราบ นอกจากแพทย์จะถามนำเสียเอง ดังนั้นเมื่อไรที่ผู้สูงอายุรายงานให้แพทย์ทราบมักจะมีอาการมานานจนทนไม่ได้แล้ว นอกจากนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมมักมีความชุกของอาการปัสสาวะราดมากกว่าผู้สูงอายุปรกติ การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้สูงอายุที่มีสมองเสื่อมจึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ง่าย โดยทั่วไปความชุกของอาการปัสสาวะราดจะพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุหญิงประสบปัญหานี้มากกว่าชายถึงสองเท่า ความชุกนี้ยังเพิ่มขึ้นเมื่อผู้สูงอายุอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยพบเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในบ้านพักคนชรา ร้อยละ 70 ในหอผู้ป่วยผู้สูงอายุ และร้อยละ 80 ในหอผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต ความสำคัญของแนวโน้มนี้บอกให้ทราบถึงปัจจัยเนื่องจากสุขภาพทั่วไปทั้งด้านกายและจิตที่มีผลต่อความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน อันจะนำไปสู่อาการปัสสาวะราดในที่สุด
ผลกระทบทางเวชกรรมของอาการปัสสาวะราดที่สำคัญในผู้สูงอายุ ได้แก่
• ด้านกายภาพ
• ผิวหนังเปื่อยและแตกเป็นแผลกดทับได้ง่าย
• การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำบ่อยๆ
• หกล้ม โดยเฉพาะปัสสาวะราดเวลากลางคืน
• การสูญเสียความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน
• ด้านจิตใจ
• ภาวะซึมเศร้า
• การแยกตัวจากสังคม
• ด้านสังคม
• เป็นภาระต่อผู้ดูแลและครอบครัว
• ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยลำพังและถ้าขาดผู้ดูแล จำเป็นต้องอาศัยการดูแลในโรงพยาบาลหรือบ้านพักคนชรา
• ด้านเศรษฐกิจ
• ค่าจ้างผู้ดูแลหรือญาติไม่สามารถประกอบอาชีพเพราะต้องคอยทำความสะอาดตลอดทั้งวัน
• ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์เช่น สายสวนปัสสาวะ แผ่นรองกันเปื้อน
• ค่ารักษาต่างๆกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน
แม้ว่าสาเหตุของอาการปัสสาวะราดจะมีมากมายและแตกต่างกันระหว่างหญิงและชาย แต่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งโดยพฤติกรรมบำบัด การใช้ยา ตลอดจนการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการรักษาจะไม่ประสบผลสำเร็จได้ถ้าปราศจากการประเมินผู้ป่วยโดยละเอียดอันได้แก่ การประเมินสุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันและสถานภาพทางสังคมและครอบครัว โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีการพยากรณ์โรคดีมักเป็นผู้ที่ยังมีความสามารถทางสติปัญญาดี และการเคลื่อนไหวช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง ส่วนผู้ที่ไม่สามารถแก้ไขสาเหตุได้ทั้งหมด การรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายในชีวิตดีกว่าเดิม ก็สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้
ที่มา;http://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_6_001.html
ผู้สูงอายุมีลักษณะทางคลินิกที่แตกต่างจากผู้ที่มีอายุน้อยกว่า นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องความชรา อาการและอาการแสดงที่ไม่จำเพาะเจาะจง การมีพยาธิสภาพหลายระบบในเวลาเดียวกัน การบริหารยาหลายชนิด สภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันแม้จะมีอายุใกล้เคียงกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพได้ อาการปัสสาวะราด เป็นหนึ่งในอาการและอาการแสดงที่ไม่จำเพาะเจาะจง ทั้งนี้เพราะอาจเกิดจากพยาธิสภาพได้หลายสาเหตุซึ่งอาจแก้ไขได้ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องความชราเพียงอย่างเดียว การที่ผู้สูงอายุเอง ญาติผู้ดูแล หรือแม้แต่แพทย์ที่พบกับปัญหานี้มีทัศนคติต่ออาการปัสสาวะราดว่าแก้ไขไม่ได้ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของผู้สูงอายุที่ผู้ประสบปัญหานี้จะต้องทนอยู่กับอาการดังกล่าวในชั่วชีวิตที่เหลือ จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายในโอกาสที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้นดีขึ้นได้
แม้ว่าความชุกของอาการปัสสาวะราดในผู้สูงอายุในชุมชนจะประมาณร้อยละ 12-15 แต่ความชุกที่แท้จริงน่าจะมากกว่านี้ ทั้งนี้เพราะอาการปัสสาวะราดเป็นสิ่งที่น่าละอายที่ผู้สูงอายุมักไม่ค่อยอยากเปิดเผย โดยเฉพาะการศึกษาในชุมชนที่ใช้แบบสัมภาษณ์ และถ้าแบบสัมภาษณ์นั้นสำรวจเรื่องอื่นๆด้วย ผู้สูงอายุอาจเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและคงช่วยอะไรไม่ได้จึงไม่มีความสำคัญที่จะต้องตอบ ปรากฏการณ์นี้ยังพบได้บ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไปที่ผู้สูงอายุมักไม่รายงานอาการนี้ให้แพทย์ทราบ นอกจากแพทย์จะถามนำเสียเอง ดังนั้นเมื่อไรที่ผู้สูงอายุรายงานให้แพทย์ทราบมักจะมีอาการมานานจนทนไม่ได้แล้ว นอกจากนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมมักมีความชุกของอาการปัสสาวะราดมากกว่าผู้สูงอายุปรกติ การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้สูงอายุที่มีสมองเสื่อมจึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ง่าย โดยทั่วไปความชุกของอาการปัสสาวะราดจะพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุหญิงประสบปัญหานี้มากกว่าชายถึงสองเท่า ความชุกนี้ยังเพิ่มขึ้นเมื่อผู้สูงอายุอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยพบเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในบ้านพักคนชรา ร้อยละ 70 ในหอผู้ป่วยผู้สูงอายุ และร้อยละ 80 ในหอผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต ความสำคัญของแนวโน้มนี้บอกให้ทราบถึงปัจจัยเนื่องจากสุขภาพทั่วไปทั้งด้านกายและจิตที่มีผลต่อความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน อันจะนำไปสู่อาการปัสสาวะราดในที่สุด
ผลกระทบทางเวชกรรมของอาการปัสสาวะราดที่สำคัญในผู้สูงอายุ ได้แก่
• ด้านกายภาพ
• ผิวหนังเปื่อยและแตกเป็นแผลกดทับได้ง่าย
• การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำบ่อยๆ
• หกล้ม โดยเฉพาะปัสสาวะราดเวลากลางคืน
• การสูญเสียความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน
• ด้านจิตใจ
• ภาวะซึมเศร้า
• การแยกตัวจากสังคม
• ด้านสังคม
• เป็นภาระต่อผู้ดูแลและครอบครัว
• ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยลำพังและถ้าขาดผู้ดูแล จำเป็นต้องอาศัยการดูแลในโรงพยาบาลหรือบ้านพักคนชรา
• ด้านเศรษฐกิจ
• ค่าจ้างผู้ดูแลหรือญาติไม่สามารถประกอบอาชีพเพราะต้องคอยทำความสะอาดตลอดทั้งวัน
• ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์เช่น สายสวนปัสสาวะ แผ่นรองกันเปื้อน
• ค่ารักษาต่างๆกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน
แม้ว่าสาเหตุของอาการปัสสาวะราดจะมีมากมายและแตกต่างกันระหว่างหญิงและชาย แต่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งโดยพฤติกรรมบำบัด การใช้ยา ตลอดจนการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการรักษาจะไม่ประสบผลสำเร็จได้ถ้าปราศจากการประเมินผู้ป่วยโดยละเอียดอันได้แก่ การประเมินสุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันและสถานภาพทางสังคมและครอบครัว โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีการพยากรณ์โรคดีมักเป็นผู้ที่ยังมีความสามารถทางสติปัญญาดี และการเคลื่อนไหวช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง ส่วนผู้ที่ไม่สามารถแก้ไขสาเหตุได้ทั้งหมด การรักษาพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายในชีวิตดีกว่าเดิม ก็สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้
ที่มา;http://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_6_001.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น